วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภาษาไทยอลเวง

        ภาษาไทยเรานั้นมีลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งก็คือ  การเล่นคำ  ที่มีวิธีการสลับคำ โดยใช้ สระ และ ตัวสะกด ของ พยางค์หน้า และ พยางค์สุดท้าย มาสลับกัน ทำให้เกิดคำใหม่ที่อาจไม่มีความหมาย แต่การออกเสียงจะคล้องจองกับรูปเดิม ทำให้สื่อความหมายกันได้ คำผวนนั้นนิยมใช้กับคำสองหรือสามพยางค์เป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถสลับตำแหน่งได้ง่าย คำพยางค์เดียวนั้นไม่สามารถผวนได้ ส่วนคำหลายพยางค์ อาจต้องแยกเป็นส่วนๆ ไม่สามารถสลับตำแหน่งอย่างคำน้อยพยางค์ วิธีการนี้เรียกว่า  การสร้างคำผวน เรียกว่า "ผวน" หรือ "การผวนคำ"  นั่นเองค่ะ

หลักทั่วไปของการผวนคำ

  1. คำผวนเป็นการเล่นทางภาษาอย่างหนึ่งในภาษาไทย ที่ใช้วิธีการผวนคำ หรือสลับตำแหน่งของเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ในคำสองพยางค์ขึ้นไป
  2. การสลับตำแหน่งที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นกับคำสองพยางค์ เช่น ดำเนิน - เดินนำ ในที่นี้ พยัญชนะต้นของทั้งสองพยางค์ยังคงตำแหน่งเดิม แต่สลับเสียงสระ (พร้อมเสียงรรณยุกต์และตัวสะกด) คือ สลับ ระหว่าง สระ "อำ" กับสระ "เอิน"
  3. ในคำ 3 พยางค์ การผวนจะยุ่งยาก จึงอาจเลือกที่จะผวนเฉพาะบางคู่ของพยางค์ เช่น สวัสดี (สะ-หวัด-ดี) มักเลือกผวนเฉพาะ พยางค์ที่สองและสาม คือ หวัด (สระ "อะ" เสียงเอก+ตัวสะกด "กด") -ดี (สระ "อี" เสียงสามัญ ตัวสะกดไม่มี) -> วี (สระ "อี" เสียงสามัญ ตัวสะกดไม่มี) - ดัด (สระ "อะ" เสียงเอก + ตัวสะกด "กด")
  4. คำ 4 พยางค์ขึ้นไป ไม่นิยมผวนคำ
คำผวนเป็นการเล่นเสียงเพื่อความสนุกสนาน บางคนนิยมใช้ผวนคำหยาบเรื่องเพศ เป็นการเลี่ยงที่จะเอ่ยถึงคำหยาบนั้นตรงๆ หรือผวนคำเป็นปริศนา ซึ่งนิยมกันมากในปริศนาคำกลอนที่เรียกว่า ผะหมี นอกจากนี้ ยังมีนักเขียนจำนวนไม่น้อย ใช้การผวนชื่อจริง เพื่อนำมาใช้เป็นนามปากกา

ตัวอย่างคำผวน

ทั่วไป

  • อรีด่อย = อร่อยดี (คำ 3 พยางค์, ผวนเฉพาะสองพยางค์หลัง)
  • สวีดัด = สวัสดี (คำ 3 พยางค์, ผวนเฉพาะสองพยางค์หลัง)
  • ก่างไย่ (ก้างใหญ่) = ไก่ย่าง
  • จอเข็บ = เจ็บคอ
  • ทรายบันหยุด = สุดบรรยาย

นามปากกาหรือชื่อคน

วรรณกรรมที่แต่งด้วยคำผวน

....................................................................................................................................................................
        แถมท้าย..คำผวน (แบบน่ารักๆ)

ไตหาหัวจาม - ตามหาหัวใจ        
เค็งถึงอิ๊ด - คิดถึงเอ็ง
คุขี้จน - คนขี้จุ๊    
หรองขึ้นสมัก - รักขึ้นสมอง
ยันเจอทุกหวาก - อยากเจอทุกวัน
ปุ๊บน่าจาง - ปากน่าจุ๊บ
เบอว่ารักแถบ - แบบว่ารักเธอ
คังถึงจิ๊ด - คิดถึงจัง
เมียไหวจะไคล่ - ไม่ไหวจะเครียร์
แสมจ่วย - สวยแจ่ม
ไหล่โดนจอ - หล่อโดนใจ
ฮักคนบอกหรา - หาคนบอกรัก
ซะนักรักเซี้ยว - เวี้ยวนักรักซะ
ไหคนรู้จา - หาคนรู้ใจ
ไรกันมัก - รักกันมั๊ย
คิกเป็นก๋อ - ขอเป็นกิ๊ก
ด๊ะกันนี - ดีกันนะ
พรันนี้เจอกุ้ง - พรุ่งนี้เจอกัน
แหยนควงขาก - อยากควงแขน
คี่สะโนว้าด - คาสโนวี่
ค่าสะโนว้าด - คาสโนวา
กำไว้ในความทรงเจ็บ - เก็บไว้ในความทรงจำ
นีหลับฝันดอน - นอนหลับฝานดี
ไปไม่ตรงกับจาก - ปากไม่ตรงกับใจ
ไสนี้ว่างเม้า - เสาร์นี้ว่างมั๊ย
ขึงทิด - คิดถึง
แขนเป็นฟอ - ขอเป็นแฟน
เจอนี้มีแต่ไท - ใจนี้มีแต่เธอ
ผักมั๊ยถ้าจะริด - ผิดมั๊ยที่จะรัก
ไขเบอได้ม้อ - ขอเบอร์ได้มั๊ย
เหี้-ย นะ หน่วง = ห่วงนะเนี่ย


วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภาษาไทยเป็นอย่างไรนะ

ความหมายของภาษา          คำว่า “ ภาษา” เป็นคำภาษาสันสฤต แปลตามรูปศัพท์หมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถสื่อสารติดต่อทำความเข้าใจกันโดยมีระเบียบของคำและเสียงเป็นเครื่องกำหนด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายของคำว่าภาษา คือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน
ประเภทของภาษา
         ประเภทของภาษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ วัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้คำพูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำสร้างความเข้าใจกัน นอกจากนั้นยังมีตัวหนังสือที่ใช้แทนคำพูดตามหลักภาษาอีกด้วย ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า “ อวัจนภาษา” เป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสาร เช่น การพยักหน้า การโค้งคำนับ การสบตา การแสดงออกบนใบหน้าที่แสดงออกถึงความเต็มใจและไม่เต็มใจ อวัจนภาษาจึงมีความสำคัญเพื่อให้วัจนภาษามีความชัดเจนสื่อสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากท่าทางแล้วยังมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ อีกด้วย
ความสำคัญของภาษา          ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ติดต่อกันได้ เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด
ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ
ภาษาศาสตร์มีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ในภาษานั้นไม่ตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวม
ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาลเทศะ ประเภทของเรื่องฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย
องค์ประกอบของภาษา ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
เสียง นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ
พยางค์และคำ พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
พยางค์แต่ละพยางค์จะมีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่หน้าเสียงสระ พยางค์ทุกพยางค์จะต้องมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์ก็อาจมีเสียงพยัญชนะสะกดประกอบอยู่ด้วย เช่น “ ปา” พยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะ /ป/ เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ /อา/
เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /สามัญ/
ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
ประโยค ประโยค เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ

อักษร ๓ หมู่

การแบ่งอักษรไทยเรียกว่าไตรยางค์ แบ่งเป็น อักษรสูง กลาง ต่ำ
อักษรสูงมี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ พ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรกลาง 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรต่ำ  คือ ตัวที่เหลือที่ไม่ใช่อักษรสูง และ กลาง
แต่ละอักษรก็จะแบ่งเป็น คำเป็น คำตาย

การแบ่งพยางค์ แบ่งเป็น 2 แบบคือ
คำเป็น = พยางค์ที่สะกดด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก.กา +แม่ กน กง กม เกย  เกอว +อำ ใอ ไอ เอา
คำตาย = พยางค์ที่สะกดด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก.กา +แม่ กก กด กบ 
  
และวิธีที่จำง่ายๆสามารถคิดจำเองได้ตามความถนัดของแต่ละบุคคล
    ในที่นี้จะขอเสนอให้จำคำเป็น  นั่นคือ  แม่กายาว  (หายใจยาวจึงได้เป็น) จำใจไปเอา นมยวง
ส่วนคำตายก็คือ  แม่กาสั้น (หายใจสั้นจึงตาย)  กบด